Author Archives: wiboonrat

แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

                                                           แผนการจัดการเรียนรู้

เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะตามหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง

รหัสวิชา ว 31102   ชื่อรายวิชาวิทยาศาสตร์   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ชั้น มัธยมศึกษาปีที่  4

หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ  เรื่อง การย่อยอาหารของจุลินทรีย์ ( กระบวนการหมัก)

แผนการจัดการเรียนรู้   เรื่อง  น้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์   เวลา  4  ชั่วโมง

ผู้จัดทำ    นางวิบูลย์รัตน์  จันทร์ศิริ

—————————————————-

มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

 

ว 1.1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของ

สิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน   มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตขอองตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

ว  2.1  เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศน์  กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่ได้เรียนรู้  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ว 2.2  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น  ประเทศ  และโลก  นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ว  8.1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้  การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ  เข้าว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

 

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

 

กระบวนการหมัก (Fermentation)  เป็นการทำงานของจุลินทรีย์หลายชนิด เช่น รา  แบคทีเรีย  ยีสต์  มนุษย์รู้จักใช้กระบวนการหมักและนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่บรรพบุรุษมาแล้ว  เช่น การดองผลไม้หรือดองอาหารชิดต่างๆ   การทำปลาร้า  การทำผักดอง  ปลาส้ม  เป็นต้น  การทำน้ำหมักชีวภาพเป็นการนำเอาผักหรือผลไม้ในท้องถิ่นของเรารวมกับน้ำตาล  น้ำในอัตราส่วนที่เหมาะหมักรวมกันโดยอาศัยการทำงานของแบคทีเรีย ใช้เวลาหมัก 3-4  เดือน สามารถนำน้ำหมักนั้นมาใช้ประโยชน์ได้

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.  ด้านความรู้ (K)

อธิบายวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพอเนกประสงค์ได้

4.2  ด้านกระบวนการ (P)

ทำปฏิบัติการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์ได้

4.3       ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)

  1. ความซื่อสัตย์
  2. ความสามัคคี
  3. ความสะอาด
  4. ความรับผิดชอบ

 

สาระการเรียนรู้

 

น้ำหมักชีวภาพ หรือ  หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์  เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด เพื่อใช้ในด้านต่างๆ  ดังนี้

1.  ด้านการเกษตร

2.  ด้านปศุสัตว์

3.  ด้านการประมง

4.  ด้านสิ่งแวดล้อม

5.  ประโยชน์ในครัวเรือน

 

สมรรถนะสำคัญ

–    ความสามารถในการสื่อสาร

–    ความสามารถในการคิด

–    ความสามารถในการแก้ปัญหา

–    ความสามารถในการทำน้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือนได้

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

–    อยู่อย่างพอเพียง

–    มุ่งมั่นในการทำงาน อดทน รอบคอบ

–    ใฝ่เรียนรู้

 

 

ชิ้นงาน/ภาระงาน

–  ทำน้ำหมักชีวภาพอเนกประสงค์

–  รายงานผลการทำน้ำหมักชีวภาพและการทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้

 

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.  นักเรียนร่วมกันแบ่งกลุ่มๆ ละ  ๔ – ๕  คน  โดยแต่ละกลุ่มให้มีนักเรียนคละกันระหว่าง

นักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน  และกำหนดหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่มเป็น หัวหน้ากลุ่ม เลขานุการกลุ่ม และสมาชิกภายในกลุ่ม

2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความหมายของจุลินทรีย์  ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ตลอดจนการเกิดกระบวนการหมักจากจุลินทรีย์   ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพ

3.  ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงขั้นตอนและวิธีทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

 

ขั้นการจัดการเรียนรู้

 

1.  นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง การย่อยอาหารของจุลินทรีย์    วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์เอนกประสงค์                                                      ดังนี้

–  สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มจะต้องมีภาระหน้าที่ในการทำกิจกรรมการทดลอง

–  กำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมการทดลองให้เหมาะสม

–  อุปกรณ์การทดลองที่นักเรียนเลือกใช้จะต้องมีจำนวนเพียงพอกับกิจกรรมการทดลอง

–  ปริมาณของเศษพืช  ผัก หรือผลไม้ หรือเศษอาหารจะต้องมีจำนวนพอดี

กับการทดลอง

– ขณะ ทำการปฏิบัติการนักเรียนทุกกลุ่มจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์

–  การสรุปผลการทดลอง จะต้องมีความกะทัดรัดและเหมาะสมกับการทดลองให้มาก

ที่สุด

–  นักเรียนจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผลการทดลอง

–  มีการจัดการกับวัสดุอุปกรณ์ในการทดลองให้เรียบร้อยและปลอดภัย

–  นักเรียนต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

3.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายภายในกลุ่มเกี่ยวกับผลการทดลอง   นำผลิตภัณฑ์ที่หมักได้ไปทดลองใช้   สรุปผลการทดลอง และเขียนรายงานการทดลอง

4.  อาสาสมัครตัวแทนกลุ่มในห้องเรียน นำเสนอรายงานการทดลองหน้าชั้นเรียน เน้นกลุ่มนักเรียนที่มีจิตอาสา ครูและเพื่อนๆในชั้นเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์

 

ขั้นสรุป

1.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุป เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

2.  นักเรียนและครูร่วมกันวิเคราะห์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ในการ

กระบวนการเรียนรู้  เรื่อง การทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์   นักเรียนบันทึกผลการวิเคราะห์ในใบกิจกรรมที่ 2  เรื่อง การวิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้

 

สื่อและแหล่งเรียนรู้

 

1.  สื่อการเรียนรู้

–  ใบความรู้ เรื่อง  น้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

–  ใบกิจกรรมที่ ๑  เรื่อง  การทำน้ำมักชีวภาพเอนกประสงค์

–  ใบกิจกรรมที่  ๒  เรื่อง  การวิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ใน

กระบวนการเรียนรู้

2.  อุปกรณ์การทดลอง

  1. เศษพืช  ผัก   ผลไม้  เศษอาหาร    หรืผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น ยอ  มะขามป้อม สมอ
  2. น้ำตาลทรายแดง
  3. น้ำเปล่า
  4. ตาชั่ง
  5. ถังพลาสติกขนาด  30  ลิตร
  6. มีด
  7. เขียง
  8. ไม้พายที่ใช้คน

 

             3.   แหล่งเรียนรู้

–  ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

 

 

 

 

วัดและประเมินผล

 

สิ่งที่วัดและประเมิน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
อธิบายวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์ได้ –  การสังเกตการตอบคำถาม

– การตรวจรายงานการทดลอง

–  แบบสังเกตการตอบคำถาม

–  ใบกิจกรรม ที่ ๑

 

ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70  ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์
ทำปฎิบัติการการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์ได้ – การสังเกตและตรวจผลงาน แบบประเมินการปฏิบัติการทดลอง

 

ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70  ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์
–    อยู่อย่างพอเพียง

–    มุ่งมั่นในการทำงาน อดทน รอบคอบ

–    ใฝ่เรียนรู้

– การสังเกต แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70  ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์

 

การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.  สำหรับครูผู้สอน

         

             3  ห่วง

ประเด็น

ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
 

เนื้อหา

 

 

1. ครูมีการวิเคราะห์หลักสูตร เนื้อหา ออกแบบ และจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด และบริบทของท้องถิ่น 1. ครูเลือก เรื่องที่สอนให้สอดคล้องกับท้องถิ่นและผู้เรียนเพื่อให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ภูมิปัญญา 1. เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามจุดประสงค์
 

แหล่งเรียนรู้

 

1. กำหนดภาระงาน/ชิ้นงานในการทำผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นได้เหมาะสมกับจุดประสงค์

และวัยผู้เรียน

1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใฝ่เรียนรู้และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1. เตรียมวิธีป้องกันและแก้ปัญหาจากการปฏิบัติกิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์    1.  ครูจัดเตรียมใบความรู้และใบงานที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่สอนและความสนใจของผู้เรียน

2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

1.  ออกแบบการจัดการเรียนรู้  เพื่อให้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.  นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และเกิดความภาคภูมิใจใน

ความสามารถของตนเอง

1. ครูเตรียมแผนฯหรือสื่อสำรอง เพื่อรองรับกรณีที่มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง

 

             3  ห่วง

ประเด็น

ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
 

เวลา

 

1. ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมเพียงพอกับเวลาที่กำหนดไว้

 

1.  จัดการเรียนรู้ได้ตามกระบวนการครบถ้วนตามที่วางแผนไว้ 1.  เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ครบตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
การจัดกิจกรรม 1.ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้พอดีกับจำนวนนักเรียน

 

2.  นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.  จัดนักเรียนคละความสามารถเก่ง ปานกลาง อ่อน เพื่อให้นักเรียนแบ่งกลุ่มได้เหมาะสมและสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

2. เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติ

 1. เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงศักยภาพของตนเองเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ

 

 

2. เพื่อตรวจสอบศักยภาพของนักเรียนเป็นรายบุคคลสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความสามารถ

การประเมินผล มีการออกแบบการวัดและประเมินผลได้เพียงพอกับตัวชี้วัดและเหมาะสมกับเวลา มีการออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับเนื้อหา

ที่ต้องการวัด

มีวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพและตรงตามเป้าหมายที่ต้องการวัด
 

เงื่อนไขความรู้

 

1.  ครูผู้สอน มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน เรื่อง วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

2.  มีความรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และประโยชน์จากผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์ได้

3. มีความรู้เรื่องส่วนผสมในการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์แต่ละชนิด

เงื่อนไขคุณธรรม – มีความรักเมตตาศิษย์ มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม

 

2.   สำหรับนักเรียน     

ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
๑. นักเรียนกำหนดหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน

๒. นักเรียนเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการทดลองได้พอดีกับกิจกรรมการทดลอง

นักเรียนใช้เวลาในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้พอดีกับเวลาที่กำหนด

๑. นักเรียนรู้จักการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม

๒. นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานและสามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ได้

๓. นักเรียนได้ฝึกการทำงานตามแผนที่วางไว้เพื่อให้ทันกำหนดเวลา

๑.นักเรียนรู้จักการวางแผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล

๒. นักเรียนรู้จักเลือกใช้และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การทดลองได้ถูกต้องและตรงตามกิจกรรมการทดลองการทดสอบสารอาหาร

 

เงื่อนไขความรู้ ๑.      วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์ได้

๒.    ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ

เงื่อนไขคุณธรรม ๑. ความสามัคคีในกลุ่ม

๒. ความรับผิดชอบ มีวินัยในการทำงานกลุ่ม

๓. มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

๔. ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้อย่างพอเพียง

 

                            3.  ประเมินผลลัพธ์ (KPA) ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

ด้าน

วัด

อยู่อย่างพอเพียง…สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
ความรู้ 1.ได้ความรู้ เกี่ยวกับอัตราส่วนของส่วนผสมวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์ได้

 

1.  มีการวางแผนในการทำงานเป็นกระบวนการกลุ่ม

2. นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3. นักเรียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

1. มีความรอบรู้ในการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

2. รู้สาเหตุและปัญหาของการผลิตและการใช้น้ำหมักชีวภาพในท้องถิ่น

1. การเรียนรู้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน

2. เห็นคุณค่าของภูมิปัญญา

ท้องถิ่น

ทักษะ 1. มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างประหยัดและคุ้มค่า

2. การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม

1. มีทักษะในการทำงาน

2. มีความสามารถในการนำความรู้ที่ได้รับ ไปร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อหาข้อสรุปได้

1. ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวังและคุ้มค่า

 

1. ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

2. มีทักษะในการคำนวณและนำไปใช้ได้เหมาะสม

ค่านิยม 1.ตระหนักถึงผลที่เกิดจากการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน

 

1. มีความรับผิดชอบต่อการทำงานของกลุ่ม

2. ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันมีความเสียสละและอดทน

 

1. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. ใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัด

1.สืบสานการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. การใช้แหล่งเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

 

 

 

บันทึกผลการจัดการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)  นักเรียนสามารถมีความรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพได้ทุกคน

ด้านกระบวนการ (P)  นักเรียนทุกกลุ่มมีความสามารถปฏิบัติการทดลองได้

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)   นักเรียนมีความรับผิดชอบและร่วมกันทำงานได้ทุกคน

การอยู่อย่างพอเพียง   มีความรอบรู้ในการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นรู้สาเหตุและปัญหาของการผลิตและการใช้น้ำหมักชีวภาพในท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวัง  คุ้มค่ามีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                         ใบความรู้    เรื่อง  น้ำหมักชีวภาพอเนกประสงค์

ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เรื่อง  การย่อยอาหารของจุลินทรีย์ (กระบวนการหมัก  การทำน้าหมักชีวภาพเอนกประสงค์)

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

น้ำหมักชีวภาพ หรือ  หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์  เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด เพื่อใช้ในต้านต่างดังนี้
ด้านการเกษตรน้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย
ด้านปศุสัตว์สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ

ด้านการประมงช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี
ด้านสิ่งแวดล้อมน้ำหมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น
ประโยชน์ในครัวเรือนเราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาแทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯได้ด้วย

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร
เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้
ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน
             วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย
ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้
ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย
ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า  หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้
หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า “หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ” เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการซักล้าง
          น้ำหมักชีวภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการซักล้างได้ โดยมีสูตรให้นำผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดีควาย , มะนาว ฯลฯ) 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง แล้วหมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออก โดยต้องวางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ สำหรับซักผ้า หรือล้างจานได้ ซึ่งสูตรนี้แม้ว่าผ้าจะมีราขึ้น หากนำผ้าไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำหมักชีวภาพก็จะสามารถซักออกได้
วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อดับกลิ่น
            สูตรหนึ่งของการทำน้ำหมักชีวภาพมาดับกลิ่น คือ ใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน  ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ ได้อย่างดี
ข้อควรระวังในการใช้ น้ำหมักชีวภาพ
           1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้
2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที
3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค
     มีคนนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้บริโภคกันด้วย ซึ่งน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ในการบริโภค หรือ เอนไซม์ เป็นสารโปรตีน วิตามินเอ บี ซี ดี อี เค อะมิโนแอซิค(Amino acid) และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa) ที่ได้จาก หมักผลไม้นานาชนิด เมื่อหมักระยะเริ่มแรกจะเป็นแอลกอฮอล์ ระยะต่อมา เป็นน้ำส้มสายชู ซึ่งมีรสเปรี้ยว อีกระยะหนึ่งเป็นยาธาตุ มีรสขม ก่อนจะได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ (เอ็นไซม์) ซึ่งใช้เวลาหมักขยายประมาณ 2 ปี แต่หากจะนำไปดื่มกินควรผ่านการหมักขยายเป็นเวลา 6 ปีขึ้นไป
โดยประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพนั้น หากมีการนวัตกรรมการผลิตที่ดีจะส่งผลดีต่อสุขภาพของระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น และช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่น้ำหมักชีวภาพ ที่ขายอยู่ตามท้องตลาด มักเป็นน้ำหมักชีวภาพที่อยู่ในสภาพเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้นเมื่อดื่มกินแล้วอาจมีอาการร้อนวูบวาบ มึนงง และอาจทำให้ฟันผุกร่อนได้ เพราะน้ำหมักชีวภาพ (เอนไซม์) มีสภาพเป็นกรดสูง ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำหมักชีวภาพแบบเข้มข้น
อย่างไรก็ตาม การทำน้ำหมักชีวภาพ ที่ใช้บริโภคนั้น ยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ หากดื่มกินเข้าไปก็เสี่ยงต่ออันตรายได้ โดยเฉพาะมีข้อมูลจาก สวทช. ร่วมกับ อย.ที่ได้เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่วางขายตามท้องตลาดมาตรวจสอบ พบว่า น้ำหมักชีวภาพเหล่านี้ แม้จะไม่มีการปนเปื้อนของโลหะ เศษไม้ เศษดิน แต่พบการปนเปื้อนของเชื้อรา ยีสต์ เมทิลแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทและตา โดยเฉพาะเมทานอล หรือเมธิลแอลกอฮอล์ที่ทำอันตรายต่อร่างกายได้
          ดังนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา รวมทั้งต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต แหล่งผลิต และบรรจุภัณฑ์หีบห่อด้วย แต่ถ้าหากจะนำ “น้ำหมักชีวภาพ” มาใช้ในครัวเรือน หรือการเกษตร ลองทำง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ก็จะปลอดภัยและประหยัดที่สุด

 

ใบกิจกรรมที่ 1

เรื่อง การทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

 

จุดประสงค์การทดลอง     8  ทำปฎิบัติการ การทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

คำชี้แจง  นักเรียนแต่ละกลุ่มดำเนินการทำกิจกรรม โดยมีข้อตกลงในการทำกิจกรรม ดังนี้

  1. สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มจะต้องมีภาระหน้าที่ในการทำกิจกรรม
  2. กำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมให้เหมาะสม
  3. อุปกรณ์การทดลองที่นักเรียนเลือกใช้จะต้องมีจำนวนพอดีกับกิจกรรมการทดลอง ขณะที่นักเรียนดำเนินการทดลองถ้าอุปกรณ์ที่นำมาใช้ไม่เพียงพอนักเรียนไม่สามารถนำมาเพิ่มเติมได้
  4. ปริมาณของเศษผัก ผลไม้ เศษอาหาร หรือผลไม้  ที่นักเรียนนำมาใช้จะต้องมีจำนวนพอดี กับการทดลอง ขณะที่นักเรียนดำเนินการทดลองถ้านำมาใช้ไม่เพียงพอนักเรียนไม่สามารถนำมาเพิ่มเติมได้
  5. การทำการทดลองนักเรียนทุกกลุ่มจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์

การทดลอง

  1. การสรุปผลการทดลอง จะต้องมีความกะทัดรัดและเหมาะสมกับการทดลองให้มาก

ที่สุด

  1. นักเรียนจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผลการทดลอง
  2. มีการจัดการกับวัสดุอุปกรณ์ในการทดลองให้เรียบร้อย
  3. นักเรียนต้องให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

 

การระบุหน้าที่รับผิดชอบ

 

ชื่อสมาชิก งานที่รับผิดชอบ
……………………………………..

……………………………………..

…………………………………….

……………………………………..

……………………………………..

……………………………………..

…………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………….

 

 

 

 

การวางแผนการทำงาน

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

กำหนดปัญหา………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………….

ตั้งสมมติฐาน………………………………………………………………………………………………………………………………

…… ………………………………………………………………………………………………………………………

วัสดุอุปกรณ์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

วิธีทดลอง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ผลการทดลอง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

 

สรุปผลการทดลอง

………………………………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………………………………..

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใบกิจกรรมที่ 2

เรื่อง การวิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้

 

คำชี้แจง  นักเรียนแต่ละกลุ่มดำเนินการวิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ใน

กระบวนการเรียนรู้

 

ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

…………………………………

ความรู้

…………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………….

คุณธรรม

…………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………….

 

แบบสังเกตการตอบคำถาม

เรื่อง การทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์  สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   

คำชี้แจง    :           สังเกตการณ์ตอบคำถามของนักเรียนแล้วทำเครื่องหมาย

P          ลงในช่องที่นักเรียนปฏิบัติ

O           ลงในช่องที่นักเรียนไม่ปฏิบัติ       ให้ตรงกับความเป็นจริง

 

ชื่อ-สกุล พฤติกรรมการแสดงออก ผลการประเมิน  
1.  ปฏิบัติตามข้อตกลงในการตอบคำถาม

(ยกมือตอบคำถาม)

2.  อาสาตอบคำถามมากกว่า    4  ครั้ง 3.  ตอบคำถามอย่างสุภาพ และกระตือรือร้น 4.  ตอบคำถามได้ตรงตามประเด็นคำถาม 5.  ตอบคำถามได้ถูกต้องตามทฤษฎี และมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน เชื่อถือได้ 6.  อธิบายตอบคำถามของตนเองเพิ่มเติมได้เมื่อถูกถาม
รวม
                 
                 
                 
                 
                 
                 
                 
                 
                 
                 
                 
                 

 

ข้อสังเกต …………………………………………………………………………………………………………. …….. ………………………………………………………………………………………………………………………………..

(ลงชื่อ)                                                  ผู้ประเมิน

( ………………………………. )

…………./……………/………….

 

แบบประเมินการปฏิบัติการ เรื่อง การทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4   

—————————————————————

ชื่อกลุ่ม………………………………………………………ชั้น ……………….วันที่………………………………………

คำชี้แจง         ทำเครื่องหมาย Ö ลงในช่องตรงกับระดับพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก ตามเกณฑ์                    ได้ แรงและการเคลื่อนที่  การประเมินที่กำหนด

รายการพฤติกรรม คะแนนที่ได้ ข้อเสนอแนะ
4 3 2 1
1.  การวางแผนการทดลอง          
 1.1  การกำหนดปัญหา          
 1.2  การตั้งสมมติฐาน          
 1.2  การดำเนินการทดลอง          
 1.3  การวางแผนกำหนดขั้นตอนการทำงาน          
2.  การปฏิบัติการทดลอง          
 2.1  ใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการทดลอง             
 2.2  ทำการทดลองตามขั้นตอนที่กำหนด          
 2.3  การบันทึกผลการทดลอง          
 2.4  ทำความสะอาดและเก็บวัสดุ อุปกรณ์          
3.  การนำเสนอ          
 3.1  การแปลความหมายข้อมูล          
 3.2  การนำเสนอผลการทดลอง          
 3.3  การสรุปผลการทดลอง          
 3.4  การอภิปรายและข้อเสนอแนะ          
รวม          
ร้อยละ    

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

…………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

(ลงชื่อ)                                                  ผู้ประเมิน

(                                        )

 

 

เกณฑ์การให้คะแนนการประเมินการปฏิบัติการทดลอง เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์ 

 

รายการประเมิน ระดับคะแนน
1.  การวางแผนการทดลอง  
    1.1  การกำหนดปัญหา

    –  กำหนดปัญหาได้ชัดเจน  สอดคล้องครอบคลุมกับเรื่องที่ศึกษาดีมาก

–  กำหนดปัญหาได้ไม่ชัดเจน  สอดคล้องครอบคลุมกับเรื่องที่ศึกษาเพียงบางส่วน

–  กำหนดปัญหาได้บ้าง แต่ไม่สอดคล้องครอบคลุมกับเรื่องที่ศึกษา

–  กำหนดปัญหาไม่ได้

 

4

3

2

1

    1.2  กำหนดปัญหาและตั้งสมมติฐาน 

– สมมติฐานสอดคล้องกับปัญหาและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล อย่างชัดเจน

– สมมติฐานสอดคล้องกับปัญหาและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลแต่ยังไม่ชัดเจน

– ตั้งสมมติฐานสอดคล้องกับปัญหา  แต่ไม่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

– สมมติฐานไม่สอดคล้องกับปัญหา

 

4

3

2

1

    1.3  การดำเนินการทดลอง

–  ดำเนินการทดลองได้ถูกต้องครบสมบูรณ์

–  ดำเนินการทดลองได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่

–  ดำเนินการทดลองได้ถูกต้องเป็นบางส่วน

–  ดำเนินการทดลองไม่เหมาะสม

 

4

3

2

1

   1.4  การวางแผนกำหนดขั้นตอนการทำงาน

–  ระบุภาระงานและขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน การทำงานทั้งหมดสอดคล้องกับจุดประสงค์

–  ระบุภาระงานได้บ้าง  แต่ไม่ครบทุกขั้นตอน  การทำงานที่กำหนดส่วนใหญ่เหมาะสมดี แผนการทำงานโดยรวมสอดคล้องกับจุดประสงค์ดี

–  ระบุภาระงานและขั้นตอนการทำงานได้พอสมควร ขั้นตอนการทำงานบางส่วนไม่เหมาะ สมกับจุดประสงค์

–  ไม่สามารถระบุภาระงาน ไม่ครบทุกขั้นตอน แผนการทำงานไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์

 

4

 

3

 

2

 

1

 

 

 

 

เกณฑ์การให้คะแนนการประเมินการปฏิบัติการทดลอง เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์(ต่อ)

 

รายการประเมิน ระดับคะแนน
2.  การปฏิบัติการทดลอง  
   2.1  การใช้วัสดุ  อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการทดลอง

–  ใช้อุปกรณ์ อุปกรณ์ เครื่องมือได้ถูกต้องตามหลักการปฏิบัติ อย่างคล่องแคล่ว

–  ใช้อุปกรณ์ อุปกรณ์ เครื่องมือได้ถูกต้องตามหลักการปฏิบัติ แต่ไม่คล่องแคล่ว

–  ใช้อุปกรณ์ อุปกรณ์ เครื่องมือได้บางส่วนแต่ไม่คล่องแคล่ว

–  ใช้อุปกรณ์ อุปกรณ์ เครื่องมือได้ไม่ถูกต้อง

 

4

3

2

1

    2.2  ทำการทดลองตามขั้นตอนที่กำหนด

–  ทดลองตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง

–  ทดลองตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยครูเป็นผู้แนะนำในบางส่วน

–  ทดลองตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ หรือดำเนินการข้ามขั้นตอนที่กำหนด

–  ไม่ทดลองตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้

 

4

3

2

1

   2.3  การบันทึกผลการทดลอง 

–  บันทึกผล อย่างถูกต้องมีระเบียบ และเป็นไปตามการทดลอง

–  บันทึกผล  ไม่ระบุหน่วย ไม่เป็นระเบียบ และเป็นไปตามการทดลอง

–  บันทึกผล ไม่มีการระบุหน่วย และไม่เป็นไปตามการทดลอง

–  ไม่มีการบันทึกผล

 

4

3

2

1

   2.4  ทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์ 

–  ดูแลอุปกรณ์/เครื่องมือทดลองอย่างดี มีการทำความสะอาดและเก็บอย่างถูกต้องตามหลักการ

–  ดูแลอุปกรณ์/เครื่องมือขณะทดลอง ทำความสะอาด แต่เก็บไม่ถูกต้อง

–  ดูแลอุปกรณ์/เครื่องมือบางส่วน แต่ไม่สนใจทำความสะอาดและเก็บให้เข้าที่

–  ไม่ดูแลอุปกรณ์/เครื่องมือและไม่สนใจทำความสะอาด ไม่เก็บเข้าที่

 

4

 

3

2

1

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การให้คะแนนการประเมินการปฏิบัติการทดลอง เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์ (ต่อ)

 

รายการประเมิน ระดับคะแนน
3.  การนำเสนอ  
   3.1  การแปลความหมายข้อมูล

–  บรรยายลักษณะข้อมูลตามข้อมูลที่มีอย่างถูกต้อง

–  บรรยายลักษณะข้อมูลตามข้อมูลที่มีถูกต้องพอใช้

–  บรรยายลักษณะข้อมูลตามข้อมูลที่มีถูกต้องบางส่วน

–  บรรยายลักษณะข้อมูลนอกเหนือจากที่มี และไม่ถูกต้อง

 

4

3

2

1

   3.2  การนำเสนอผลการทดลอง 

–  จัดกระทำข้อมูลเข้าใจง่าย นำเสนอผลการทดลองเป็นลำดับขั้นตอนชัดเจนดีมาก

–  จัดกระทำข้อมูลเข้าใจง่าย นำเสนอผลการทดลองเป็นลำดับขั้นตอนชัดเจนพอใช้

–  จัดกระทำข้อมูลเข้าใจพอควร และนำเสนอผลการทดลองไม่เป็นลำดับขั้นตอน

–  จัดกระทำข้อมูลไม่เข้าใจ และนำเสนอผลการทดลองไม่เป็นลำดับขั้นตอน

 

4

3

2

1

   3.3  การสรุปผลการทดลอง 

–  สรุปผลการทดลองด้วยตนเองได้ชัดเจนดีมาก  ครบถ้วนตรงตามจุดประสงค์

–  สรุปผลการทดลองได้ชัดเจนดี ค่อนข้างจะครบถ้วนตรงตามจุดประสงค์

–  สรุปผลการทดลองด้วยตนเองไม่ได้ทั้งหมด ต้องได้รับคำแนะนำเป็นบางส่วน

–  สรุปผลการทดลองไม่ได้

 

4

3

2

1

   3.4  การอภิปรายผลและข้อแสนอแนะ 

–  อภิปรายผลการทดลองถูกต้องและสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการทดลอง

–  อภิปรายผลการทดลองถูกต้องและสอดคล้องกับจุดประสงค์การทดลองเป็นส่วนใหญ่

–  อภิปรายผลการทดลองถูกต้อง แต่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการทดลองบางส่วน

–  อภิปรายผลการทดลองไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์

 

4

3

2

1

 

 

 

 

 

 

 

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพเอนกประสงค์  สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  

—————————————————————

ชื่อ-สกุล…………………………………………………………………….ชั้น ……………..เลขที่ ………………………..

คำชี้แจง

ทำเครื่องหมาย Ö ลงในช่องตรงกับคุณลักษณะที่นักเรียนแสดงออก โดยจำแนกระดับ

พฤติกรรมการแสดงออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก

                                5  หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลามากที่สุด

4  หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงอย่างมาก

3  หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกเป็นครั้งคราว

2  หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกน้อยครั้ง

1  หมายถึง  ผู้เรียนไม่มีพฤติกรรมการแสดงออกเลย

สถานะของผู้ประเมิน      ครูผู้สอน      นักเรียน

 

รายการ พฤติกรรมการแสดงออก
5 4 3 2 1
1. ความสนใจใฝ่รู้

1.1 มีความใฝ่ใจและพอใจในการสืบเสาะแสวงหาความรู้

         
    1.2 มีความกระตือรือร้นต่อกิจกรรมและเรื่องอื่นๆ          
    1.3 ชอบทดลอง ค้นคว้า          
    1.4 ชอบสนทนาซักถาม ฟัง อ่าน เพื่อให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น          
สรุป ()  
2. ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ

2.1 ยอมรับผลการกระทำของตนเองทั้งที่เป็นผลดีและผลเสีย

         
    2.2 ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สมบูรณ์ตามกำหนดและตรงเวลา          
    2.3 ทำงานเต็มความสามารถ          
    2.4 ไม่ท้อถอยในการทำงานเมื่อมีอุปสรรคหรือล้มเหลว          
    2.5 มีความอดทนแม้การดำเนินการแก้ปัญหาจะยุ่งยากและใช้เวลา          
สรุป ()  

 

 

รายการ พฤติกรรมการแสดงออก
5 4 3 2 1
3. อยู่อย่างพอเพียง

3.1  ใช้เวลาในการปฏิบัติงานเป็นไปตามที่กำหนด (พอประมาณ)

         
    3.2  ใช้วัสดุอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม ประหยัด และคุ้มค่า (พอประมาณ)          
    3.3  อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล (มีเหตุผล)          
    3.4  ยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ข้อโต้แย้งหรือข้อคิดเห็นของผู้อื่น (มีเหตุผล)          
     3.5 มีการวงแผนการทำงานอย่างรอบคอบ (ภูมิคุ้มกัน)          
     3.6  จัดเตรียมให้พร้อมและดำเนินการทดลองด้วยความระมัดระวัง (ภูมิคุ้มกัน)          
สรุป ()  

 

 

ความคิดเห็นเพิ่มเติม …………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………….

(ลงชื่อ)                                                  ผู้ประเมิน

(                                        )

…………./……………/………….

 

 

 

 

 

 

 

รูป

รูป

อย. บุกจับลอบขายน้ำหมักฯ เครือข่ายป้าเช็ง

อย. บุกจับเครือข่าย ป้าเช็ง ลอบขายน้ำหมักฯ (ไอเอ็นเอ็น)
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ hui huizuke สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม

อย. พร้อม ปคบ. บุกตรวจบ้านย่านประชาอุทิศ จับเครือข่าย “ป้าเช็ง” ลอบผลิตน้ำหมักชีวภาพ อ้างรักษาต้อ เสริมสมรรถภาพทางเพศ

วานนี้ (9 ตุลาคม) น.พ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ พ.ต.อ.ปัญญา ปิ่นสุข รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ปคบ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข บุกเข้าตรวจค้นบ้านเลขที่ 419/1185 หมู่บ้านสยามนิเวศน์ ซอย 5 ถนนประชาอุทิศ แขวงและเขตทุ่งครุ ภายหลังที่สืบทราบว่า มีการแอบลักลอบขายน้ำหมักชีวภาพ เครือข่าย “ป้าเช็ง” ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.

โดยในที่เกิดเหตุเป็นทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น เปิดเป็นร้านขายของชำ ตรวจสอบภายในร้าน พบน้ำหมักชีวภาพ ที่อ้างสรรพคุณรักษาโรคได้สารพัดชนิด น้ำหมักแบบวุ้น อ้างสรรพคุณรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยาหยอดตา อ้างสรรพคุณรักษาโรคต้อ และน้ำหมักชนิดต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก จึงทำการตรวจยึดของกลางทั้งหมด พร้อมจับกุม 2 สามี-ภรรยา ซึ่งเป็นผู้ดูแลร้านดังกล่าว

สอบสวนเบื้องต้น ให้การรับสารภาพ โดยอ้างว่า เครือข่ายป้าเช็ง นำมาฝากขาย จึงนำตัวไปสอบสวนที่ ปคบ. ส่วนของกลาง ส่งไปตรวจพิสูจน์ที่ อย. ก่อนดำเนินคดีต่อไป

ตัวอย่างแผนวิทย์

ดีใจจังสมัครได้แล้ว

กว่าจะสมัครได้ก็ยากเหมือนกัน

Hello world!

Welcome to WordPress.com! This is your very first post. Click the Edit link to modify or delete it, or start a new post. If you like, use this post to tell readers why you started this blog and what you plan to do with it.

Happy blogging!